Article : Air Saver Unit ประหยัดพลังงานได้อย่างไร
top of page

Air Saver Unit

     พลังงานลมที่ใช้กันในโรงงานนั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ใช้ขับเคลื่อนเครื่องมือ/อุปกรณ์ต่างๆ โดยลมประเภทนี้นั้นจำเป็นต้องจ่ายลมไว้ตลอดเวลา อีกส่วนหนึ่งคือลมที่เป่าทิ้ง เช่น การใช้ลมทำความสะอาด การใช้ลมทำให้ตัวชิ้นงานแห้ง เหล่านี้เป็นการปล่อยลมทิ้งโดยจะสูญเสียปริมาณลมเป็นจำนวนมาก โดย Air Saver Unit นี้ จะสามารถลดอัตราการใช้ปริมาณลมในงานประเภทนี้นี่เอง

     โดยหลักการทำงานของอุปกรณ์นี้คือ เปลี่ยนจากการเป่าลมแบบต่อเนื่องมาเป็นการเป่าลมแบบเป็นจังหวะ เปิด-ปิด สลับกันไป ทุกช่วงจังหวะการปิดคือการที่เราสามารถประหยัดพลังงานลมได้

     จากรูป คือ กราฟแสดงอัตราการกินลม โดยจะเห็นว่ากราฟทางซ้ายคือการใช้ลมแบบปกติ ช่วงแรกของกราฟจะเห็นว่ากราฟขึ้นสูงคือปริมาณลมมาด้วยความแรงและรวดเร็ว หลังจากนั้นลมจะวิ่งด้วยความเร็วคงที่ ส่วนกราฟทางขวาจะเห็นได้ชัดเจนว่าอัตราการกินลมจะน้อยกว่า และทุกครั้งที่เริ่มการทำงานรอบใหม่ ปริมาณลมที่ปล่อยออกมาจะมีความแรงกว่าลมทั่วไป จึงใช้ประโยชน์จากจุดนี้ในการเป่าทำความสะอาดได้ดีกว่าอีกด้วย

 

 

ข้อดีของ Air Saver Unit

ติดตั้งง่าย ถ้าเดิมเคยใช้เป็นโซลินอยด์วาล์วในการเปิด-ปิดลม เปลี่ยนโซลินอยด์วาล์วออกแล้วใช้ Air Saver Unit เข้าไปแทนที่ หรือ เดิมใช้แบบบอลวาล์วเปิด-ปิด เพียงนำ Air Saver Unit มาต่อหลังจากบอลวาล์ว แค่นี้เป็นอันเสร็จ

Air Saver Unit มีให้เลือกทั้งแบบใช้ไฟฟ้าควบคุม หรือใช้เพียงระบบลมอย่างเดียว โดยทุกตัวสามารถปรับค่าความถี่ในการเปิด-ปิดได้ตามความเหมาะสมของการใช้งาน

มีรุ่นให้เลือกหลากหลายขึ้นอยู่กับปริมาณลมที่ใช้ (Flow rate) ในแต่ละตำแหน่งเพื่อความเหมาะสมต่อการใช้งาน

Applications :

  • ใช้ในการเป่าทำความสะอาดชิ้นงาน หลังจากชิ้นงานถูกทำการแมชชีนมา โดยสามารถต่อ Air Saver Unit 1 ตัว ต่อ หัวเป่า 1 หัว หรือ Air Saver Unit 1 ตัว ต่อ หัวเป่าหลายหัว ขึ้นอยู่กับปริมาณลมที่ใช้ในตำแหน่งนั้นๆ

  • ใช้ในการเป่าให้ชิ้นงานแห้ง หลังจากทำความสะอาดมาเรียบร้อยแล้ว

  • ใช้ในการเป่าเพื่อไล่ประจุที่โครงรถยนต์ก่อนเข้าสู่กระบวนการทำสี

  • ใช้ในการเป่าแห้งหลังจากที่ทำสีที่โครงรถยนต์แล้ว

QR-PNE.png

แผนก  Pneumatic

 

Email : sales.pne@pneumax.co.th

โทรศัพท์ : 02-726-8000 ต่อ 517-519

Line-PNE_Artboard 38.png
bottom of page