Accumulator (ถังสะสมพลังงาน) ในระบบไฮดรอลิค
ถังสะสมพลังงาน (Accumulators)
การทำงานของ Accumulator
-
A.สถานะที่ Bladder ติดตั้งอยู่ภายในถังสะสมพลังงาน โดยที่อยู่ภายใต้ความดันบรรยากาศ
-
B.สถานะที่ Bladder ติดตั้งอยู่ภายในถังสะสมพลังงาน และอยู่ภายใต้ความดันของก๊าซไนโตรเจน (ชาร์จแก๊สไนโตรเจนเข้าไปในถังสะสมพลังงาน)
-
C.สถานะที่ Bladder อยู่ภายใต้ความดันต่ำสุดของระบบไฮดรอลิค แต่จำเป็นต้องสูงกว่าความดันของแก๊สไนโตรเจน
-
D.สถานะที่ Bladder อยู่ภายใต้ความดันสูงสุดของระบบไฮดรอลิค แต่จำเป็นต้องต่ำกว่าความดันของ ถังสะสมพลังงานที่สามารถทนได้
ส่วนประกอบของ Accumulator
-
Shell เป็นเสื้อของถังสะสมพลังงานซึ่งทำมาจากเหล็กเกรดคุณภาพและได้มาตราฐานสากล
-
Bladder เป็นอุปกรณ์ที่ถูกติดตั้งอยู่ภายใน ซึ่งมีหน้าที่กั้นระหว่างห้องน้ำมัน และแก๊ส ซึ่งผลิตจากยางคุณภาพ และจะเป็นชิ้นเดียวกันตลอดทั้ง Bladder
-
Gas Valve เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่าง Accumulator Shell และ Bladder โดยแหวนยางและล็อคด้วยน็อต
-
Poppet Valve เป็นอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ Bladder หลุดออกมาทางช่องทางออกของน้ำมัน ในขณะที่น้ำมันไหลออกไปยังระบบ และยังช่วยไม่ให้ Bladder กระแทกกับมุมของช่องทางน้ำมัน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ Bladder แตกได้
Main Application
1. Pulsation Damper
ในกรณีที่ระบบไฮดรอลิคมีอัตราการไหลที่ไม่ราบเรียบ เช่น ใช้ปั๊มมือโยก เกียร์ปั๊ม เป็นต้น ถังสะสมพลังงานสามารถช่วยทำให้อัตราการไหลนั้นราบเรียบขึ้นได้
2. Pressure Compensate
ในกรณีที่ระบบไฮดรอลิคจำเป็นจะต้องล็อคความดันให้คงที่เป็นระยะเวลานานๆ โดยที่ไม่สิ้นเปลืองกำลังงาน ถังสะสมพลังงาน สามารถที่จะช่วยทำการชดเชยความดันที่สูญเสียไป ซึ่งอาจเนื่องจากการรั่วเพียงเล็กน้อยที่เกิดจาก วาล์ว ซีลกระบอกสูบ เป็นต้น
3. Emergency Energy Reserve
ในกรณีที่ระบบไฮดรอลิคต้องมีความสามารถในการทำงานในขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟดับ ปั๊มเสีย เป็นต้น ถังสะสมพลังงานสามารถที่จะสะสมพลังงานไว้เพื่อเหตุนั้นๆได้
4. Hydraulic Spring
ถังสะสมพลังงาน สามารถใช้เป็น Mechanical Spring โดยที่เราสามารถควบคุมทั้งค่าความแข็ง ความดันในการใช้งานได้ งานที่พบได้แก่ ลูกกลิ้งที่ใช้รีดชิ้นงาน งานเจาะ หรืองานกระแทก เป็นต้น