เครื่องทำลมแห้ง (AIR DRYER)
เนื่องจากในปัจจุบัน ระบบลมอัดต้องการคุณภาพของลมอัดให้ได้มาตรฐานตามความต้องการของ แต่ละอุตสาหกรรม โดยอ้างอิงมาตรฐาน ISO8573-1 V2010
ในส่วนของผลิตภัณฑ์ จะต้องใช้ทั้ง ฟิลเตอร์กรองหยาบ (Pre Filter) ฟิลเตอร์กรองละเอียด
(Micro Filter, Oil Mist Filter) ฟิลเตอร์กรองคาร์บอน (Carbon Filter) เพื่อขจัดฝุ่นละอองในลมอัด ละอองน้ำมัน และพวกกลิ่นของน้ำมัน ทั้งยังต้องใช้เครื่องทำลมแห้งแบบต่างๆ ทั้งแบบใช้สารทำความเย็น Refrigerated Air Dryer หรือแบบใช้เม็ดสารดูดความชื้น Desiccant Air Dryer (Adsorption Dryer) ซึ่งในแบบหลังยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกคือแบบ Heatless Purge, Heated Purge, Blower Purge และ Blower with Zero Purge
หลักการทำงาน
ลมอัดที่มีความชื้นซึ่งมีทั้ง N2, O2, ไอน้ำและก๊าซต่างๆ ผ่านมัดของท่อเส้นใยไฟเบอร์ (Bundle of Hollow fiber) ผนังของเส้นใยไฟเบอร์นี้ ถูกออกแบบพิเศษให้สามารถจับไอน้ำ (water vapor) ในลมอัดได้ เพื่อที่จะคลายความชื้นออกจากผนังของเส้นใยไฟเบอร์นี้ ลมอัดที่แห้งส่วนหนึ่ง จะถูกนำมาดึงความชื้นออกจากผนังเส้นใยไฟเบอร์นี้ทางด้านนอกของท่อเส้นใยไฟเบอร์ และระบายออกสู่บรรยากาศ.
รูปที่ 1: หลักการทำงานของ Membrane Dryer
คุณประโยชน์ของ Membrane Dryer
-
ไม่มีการใช้ไฟฟ้า ทำให้ไม่สิ้นเปลืองพลังงาน และสามารถใช้ในพื้นที่ที่อันตราย (Hazardous Area) เป็น Exposition proof
-
ไม่มีการใช้สารทำความเย็นหรือเม็ดสารดูดความชื้น ไม่มีส่วนที่เคลื่อนไหว ไม่ต้องมีการซ่อมบำรุงตลอดอายุการใช้งาน
-
ไม่มีการระบายน้ำ ไม่ต้องเดินท่อน้ำทิ้ง
-
สามารถจับความชื้นได้ดี ทำ Dew Point ได้ถึง -40°C PDP
-
การติดตั้งง่าย สะดวก ใช้พื้นที่น้อย ติดตั้ง ณ จุดใช้งานได้เลย (สามารถติดตั้งภายนอกอาคารได้)
-
เสียงเงียบ
แอพพลิเคชั่น (Application)
-
ใช้กับเครื่องตรวจวัดวิเคราะห์ก๊าซต่างๆ (Dehumidified sampling gases) เครื่องตัดเลเซอร์ (Laser machine tool) เครื่องEDM เครื่องผลิตก๊าซ (Gas Generator)
-
ใช้วงการอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverages)
-
วงการกระดาษ
-
ห้องแลบ ศูนย์สอบเทียบ เครื่องมือวัด
ข้อควรระวัง
ก่อนติดตั้ง Membrane Dryer ควรมีฟิลเตอร์แบบกรองละเอียด 1 µm และ 0.01 µm ติดตั้งก่อนเข้า Membrane Dryer
รูปที่ 2: กระบวนการติดตั้งของ Membrane Dryer
รูปที่ 3: ฟิลเตอร์แบบกรองละเอียด