top of page
วิธีการควบคุมความเร็วของกระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค
โดยปรกติการควบคุมความเร็วของกระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค จะใช้วีธีการควบคุมอัตราไหลของน้ำมันไฮดรอลิคที่จะไหลเข้า-ออกตัวทำงานทั้งคู่ ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี
1.วาล์วควบคุมความเร็ว (Flow control Valve) และวาล์วควบคุมแบบสัดส่วน (Proportional Valve)
การควบคุมอัตราการไหลด้วย Flow control valve และ Proportional valve เป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจุบันเนื่องจากสะดวกในการปรับตั้งแต่จะทำให้เกิดความร้อนสะสมในระบบไฮดรอลิคสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า เนื่องจากอัตราการไหลส่วนหนึ่งไม่ได้ไหลเข้าตัวทำงานแต่จะไหลกลับชุดต้นกำลัง (Power Unit) โดยการไหลผ่านวาล์วควบคุมความดัน (Relief Valve) ตัวอย่าง เช่น ปั๊มจ่ายน้ำมัน 10 ลิตรต่อนาที แต่ตัวทำงานต้องการอัตราการไหล 5 ลิตรต่อนาที เพื่อยืดออก-หดกลับ ส่วนอีก 5 ลิตรต่อนาที จะไหลผ่านวาล์วปลดความดัน (Relief Valve) ไปที่ชุดต้นกำลัง (Power unit) ทำให้เกิดความร้อนสะสมและสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า
Flow control Valve
Proportional Valve
2. การควบคุมเร็วรอบของปั้๊ม
อัตราการไหลของระบบไฮดรอลิคจะขึ้นอยู่กับความเร็วรอบในการหมุนของปั๊มและปริมาตรความจุของปัั๊ม (Displacement pump) แต่เราสามรถควบคุมอัตราการไหลของปัั๊มไฮดรอลิคได้ โดยควบคุมความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้าที่หมุนปั๊มไฮดรอลิค โดยใช้ Inverter และ PLC ควบคู่กัน หรือใช้มอเตอร์ไฟฟ้าแบบเซอร์โวร่วมกับ Drive control เช่น ตัวทำงานต้องการการทำงานทีมีความเร็วแตกต่างกัน เพราะฉะนั้น การจ่ายน้ำมันไฮดรอลิคเข้าไปที่ตัวทำงานจะมีอัตราการไหลแตกต่างกัน แต่สามารถจ่ายน้ำมันได้ตรงตามความเร็วของตัวทำงาน ฉะนั้น จะไม่มีน้ำมันส่วนเกินไหลผ่านวาล์วปลดความดัน (Relief valve) กลับไปยังชุดต้นกำลัง (Power unit)
ปั๊มพร้อมชุดคอนโทรล Rexroth
Block Diagram
ข้อดีของการควบคุมอัตราการไหลด้วยการควบคุมความเร็วปัม
-
ประหยัดพลังงานไฟฟ้า
-
ชุดต้นกำลังมีขนาดเล็กลง
-
ลดความร้อนสะสมทีชุดต้นกำลัง (Power unit)
-
จำนวนอุปกรณ์ไฮดรอลิคลดลง เนื่องจากไม่มี Flow control Valve และ Proportional valve ในระบบไฮดรอลิค
ข้อเสียของการควบคุมอัตราการไหลด้วยการควบคุมความเร็วปัม
-
ราคาแพง
bottom of page