Load Sensing Control
การควบคุมระบบ Hydraulic ด้วย Load Sensing Control
บทนำ
Load sensing ถูกใช้ควบคุมในระบบ Hydraulic เริ่มในปี 1970 และประโยชน์ของ Load sensing เป็นที่รู้จักกันดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งงาน Mobile การควบคุมประเภทนี้ ได้นำไปสู่การพัฒนาให้สิ้นเปลืองกำลังงานของเครื่องจักรให้ทำงานน้อยลง สำหรับงานที่หลากหลายรวมถึงการ Commissioning ที่สะดวก และมีความสามารถในการปรับตั้งสมรรถภาพของตัวแปรต่างๆให้เหมาะสมกับความสามารถของเครื่องจักร และผลผลิตสูงสุดของผู้ปฏิบัติงาน ด้วยข้อดีอันนี้ ทำให้ Load sensing มีข้อดีมากกว่า Fixed Pump ในรุ่นเก่าๆ
![](https://static.wixstatic.com/media/8accf8_36a7ed2161f44d0aa6e55e0397c5b16c~mv2.jpg/v1/fill/w_307,h_483,al_c,lg_1,q_80,enc_avif,quality_auto/8accf8_36a7ed2161f44d0aa6e55e0397c5b16c~mv2.jpg)
จากรูป สังเกตว่าหากต้องการปั๊ม 180 l/min ความดัน 200 bar Power input กำหนดจากสูตรทางทฤษฎี = 60 Kw. ปั๊มหมุนตัวเปล่าโดยผ่าน Directional control valve วงจรประกอบด้วย Flow control แบบ Meter in ซึ่งวงจรตามรูป นี้ดูเหมือนเป็นวงจรที่ดีที่สุด แต่หากเราพิจารณาให้ดีแล้ว เปรียบเสมือนคุณขับรถขึ้นเขา คุณต้องเร่งเครื่องให้ได้ Power สูงสุด เพื่อที่จะนำรถคุณขึ้นไปได้ ด้วยความที่มันเป็นระบบคงที่คุณเหยียบคันเร่งคงที่ในขณะนั้น แต่ในขณะลงเขาคุณไม่ปลดคันเร่ง แต่คุณใช้การเหยียบเบรคเพื่อช่วยในการลดความเร็วของคุณ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ความสิ้นเปลืองพลังงานและความร้อนที่เกิดจากเบรค ซึ่งไม่เป็นผลดี จากตัวอย่างนี้ หากเราเพิ่มตัวทำงานขึ้นอีก 2 ตัว ตามรูป ด้านล่างนี้
![](https://static.wixstatic.com/media/8accf8_99b0ab187b5a4c5b8a6a532b836d6e1f~mv2.jpg/v1/fill/w_419,h_480,al_c,q_80,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/8accf8_99b0ab187b5a4c5b8a6a532b836d6e1f~mv2.jpg)
โดยที่ตัวทำงานแต่ละตัวนี้ต้องการอัตราการไหลเท่ากับ 60 l/min ความดันใช้งานตามรูป แน่นอนอัตราการไหลของปั๊มจะต้องสามารถที่จะรองรับการทำงานของตัวทำงานทั้ง 3 ตัวในขณะที่ใช้งานได้พร้อมกัน นั่นคือ ปั๊มจะต้องจ่ายน้ำมันเท่ากับ 180 l/min และความดันออกแบบจะเท่ากับ 200 bar ทำให้ Input power เท่ากับ 60 kw แต่ถ้าหากเราสั่งให้ตัวทำงานตัวซ้ายสุดทำงานตัวเดียว ผลที่เกิดขึ้นสามารถอธิบายตามกราฟด้านล่าง
![](https://static.wixstatic.com/media/8accf8_073a9d9dd99e41ccaa571ca3a2988877~mv2.jpg/v1/crop/x_0,y_6,w_400,h_311/fill/w_437,h_340,al_c,lg_1,q_80,enc_avif,quality_auto/8accf8_073a9d9dd99e41ccaa571ca3a2988877~mv2.jpg)
กล่าวคือ Input Power 60 kw , Power ที่ต้องการที่จะทำงาน 10 kw เพราะ ฉะนั้น Power สูญเสีย 50 kw ซึ่งอยู่ในรูปของอัตรากรไหลที่ผ่าน Relief valve ลงถังที่ความดัน 200 bar และกลายเป็นความร้อน ทั้งหมด หรือสามารถอธิบายได้อีกมุมหนึ่งว่า หากใช้งานภายใต้ Load ที่สูงสุดค่าความสูญเสียจะน้อยแต่ถ้าใช้งานภายใต้ Load ที่ต่ำสุดค่าความสูญเสียจะมากสุด
![](https://static.wixstatic.com/media/8accf8_cc485e3062b141d28f8cf56952053fc8~mv2.jpg/v1/fill/w_615,h_480,al_c,lg_1,q_80,enc_avif,quality_auto/8accf8_cc485e3062b141d28f8cf56952053fc8~mv2.jpg)
ปั๊มแบบ Load sensing มาแทน Fixed pump และ แบบ Pressure compensate ตามรูป เราจำเป็นต้อง Set relief valve เช่นเดียวกันกับ Pressure compensate ปั๊ม ในทำนองเดียวกัน หากต้องการให้ตัวทำงานตัวซ้า ยสุดทำงานเพียงตัวเดียว จะทำให้สิ้นเปลืองพลังงานและความร้อนน้อยที่สุด ดังแสดงในกราฟต่อไป
![](https://static.wixstatic.com/media/8accf8_d0ff7d1e6312423c81d94c0231b88d5e~mv2.jpg/v1/crop/x_0,y_7,w_450,h_350/fill/w_501,h_390,al_c,lg_1,q_80,enc_avif,quality_auto/8accf8_d0ff7d1e6312423c81d94c0231b88d5e~mv2.jpg)
จากกราฟ จะเห็นว่า Input power เท่ากับ 11 kw , Power ของตัวทำงาน ตัวซ้ายสุด ( Output power ) = 10 kw เพราะฉะนั้น Pressure wasted ที่เกิดขึ้น = 1 kw วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดและประหยัดพลังงานที่สุดวิธีหนึ่ง
![](https://static.wixstatic.com/media/8accf8_be0128a2d8594d6b86df6ed24b4642bb~mv2.jpg/v1/fill/w_614,h_640,al_c,lg_1,q_85,enc_avif,quality_auto/8accf8_be0128a2d8594d6b86df6ed24b4642bb~mv2.jpg)
การนำ Fixed Pump มาใช้ในวงจร Load sensing ตามรูป จะอาศัยการทำงานของ Pilot Operated Relief Valve เป็นอุปกรณ์รักษาความดันตกคร่อมของ Flow control จากสูตร Q = 24.12 x A x √∆P ( เมื่อไม่คิดผลกระทบเนื่องจากความหนืด) จะเห็นว่า หากเราควบคุมให้ ∆P คงที่ได้ จะส่งผลให้อัตราการไหลนั้นคงที่ในขณะที่ A มีค่าเท่าเดิม