Logic Element (Part II)
Damping Nose คืออะไร ?
จากภาพที่ 5 และ 6 เราสามารถสังเกตได้ว่า Logic Element แบบมี Damping Nose จะมีลักษณะส่วนปลายของลูกป๊อปเปท ยาวกว่ารุ่นที่ไม่มี Damping Nose จะทำให้มีการหน่วงเวลาในการเปิด-ปิดช้าลง การเปิด-ปิดจึงนุ่มนวลไม่มีการกระแทกขณะปิด ซึ่งเหมาะสมที่จะใช้ทำเป็นวาล์วควบคุมอัตราการไหล แต่วาล์วแบบนี้จะเกิดค่าความดันลด (pressure drop) สูงกว่ารุ่นมาตรฐาน
ภาพที่ 5 Poppet with Damping Nose
ภาพที่ 6 Poppet without Damping Nose
ตัวอย่างงานที่สามารถใช้ Logic Element แบบมี Damping Nose
• ปลดความดันที่ค้างในกระบอกไฮดรอลิค ก่อนที่กระบอกจะเคลื่อนที่เข้า
• เปลี่ยนจากความเร็วสูงไปยังความเร็วต่ำ
• ต้องการเคลื่อนที่กระบอกสูบให้นุ่มนวล
• ควบคุมความเร็วกระบอกสูบ
การควบคุมเวลาทำงาน (Control of Operating Time) ได้อย่างไร ?
เวลาที่ใช้ในการเปิด-ปิดลูกป๊อปเปทของลอจิก อีลีเม้นท์ จะถูกกำหนดโดยรูออริฟีส (orifice) ซึ่งควบคุมอัตราการไหลน้ำมันที่เข้าและออกจากห้องสปริงของลอจิกอีลีเม้นท์
ตำแหน่งการติดตั้ง Orifice
• Orifice ที่รู P น้ำมันที่ผ่านรู orifice เข้าไปยังห้องสปริง
ซึ่งมีผลต่อเวลาในการปิดของลอจิกอีลีเม้นท์
• Orifice ที่รู T น้ำมันที่ผ่านรู orifice ออกจากห้องสปริง
ซึ่งมีผลต่อเวลาในการเปิดของลอจิกอีลีเม้นท์
• Orifice ที่รู A น้ำมันที่ผ่านรู orifice ทั้งเข้าและออกจากห้อง
สปริงซึ่งมีผลต่อเวลาในการปิดและเปิดของลอจิกอีลีเม้นท์
Active และ Passive Control ต่างกันอย่างไร ?
Active Control จากภาพที่ 7 การควบคุมชนิดนี้ ในการเปิดลอจิก น้ำมันจากห้องสปริงจะถูกระบายลงถังผ่าน orifice no.2 และน้ำมันที่ด้านไพลอตจะถูกปิดกั้นไว้ โดยไม่ส่งเข้าไปยังห้องสปริง จึงทำให้เวลาที่ใช้เปิดถูกควบคุมโดย orifice No.2 ส่วนเวลาในการปิดถูกควบคุมโดย orifice no.1
ภาพที่ 7 การควบคุมเวลาเปิด-ปิดของลอจิกอีลีเม้นท์ แบบ active control
Passive Control จากภาพที่ 8 และ 9 การควบคุมชนิดนี้ ในจังหวะที่ลอจิกเปิด จะมีน้ำมันจากไพลอต ไหลลงถังตลอดเวลา เวลาในการเปิดควบคุมโดย orifice (2) แต่ก็ขึ้นกับ orifice (1) ด้วย เนื่องจากมีน้ำมันจาก main poppet ไหลผ่านจาก orifice (1) ไปออกที่ orifice (2) ด้วยการควบคุมแบบนี้ลอจิกจะเปิดไม่เต็มที่ ส่วนระยะเวลาในการปิดจะขึ้นอยู่กับ orifice (1) เท่านั้น ดังนั้น Passive Control จึงเหมาะสำหรับทำเป็นวาล์วควบคุมความดัน
ภาพที่ 8 และ 9 การควบคุมเวลาเปิด-ปิดของลอจิกอีลีเม้นท์ แบบ passive contro
• การใช้ลอจิกอีลีเม้นท์แทนวาล์วกันกลับ (Check Valve)
• การใช้ลอจิกอีลีเม้นท์แทนวาล์วควบคุมความดัน (Pressure Relief Valve)
• การใช้ลอจิกอีลีเม้นท์แทนวาล์วลดความดัน (Pressure Reducing Valve)
• การใช้ลอจิกอีลีเม้นท์แทนวาล์วควบคุมอัตราการไหล (Flow Control Valve)