top of page

Learn about “Oil Free Compressor”

"ทำไมเราต้องใช้ปั๊มลมแบบออยฟรี??

ปั๊มลมแบบออยฟรี มีกี่แบบ??

แต่ละแบบ มีการเลือกการใช้งานต่างกันอย่างไร??  

หรือ แต่ละแบบมีข้อดีข้อเด่นอะไรบ้าง??"


     เรามักจะมีคำถามเกิดขึ้นในใจเสมอ เมื่อต้องการเลือกการใช้งานปั๊มลมแบบออยฟรี 
เนื่องจากในปัจจุบัน โลกได้หันมาเน้นเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยสำหรับคนและสัตว์ และทำให้ขบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสัตว์ จะต้องปรับปรุงคุณภาพในเรื่องความสะอาด ความปลอดภัย และสารปนเปื้อนมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือการปนเปื้อนของน้ำมันหล่อลื่นจากระบบลมอัดเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ ทำให้เวลาส่งออก หรือมีการตรวจสอบการปนเปื้อน จะถูกรีเจ็ก ทำให้เกิดการสูญเสียขึ้นได้


     ผู้ผลิตปั๊มลมจึงได้ออกผลิตภัณฑ์ เป็นปั๊มลมแบบออยฟรี และแบบออยเลส เพื่อรองรับในการใช้งานแบบต่างๆแล้วปั๊มลมแบบออยฟรี และแบบออยเลส ต่างกันตรงไหน ชื่อก็บอกแล้วว่า ออยฟรี คือปราศจากน้ำมัน 100 เปอร์เซ็นต์ แน่นอน แต่ ออยเลสจะมีไอน้ำมันผสมอยู่บ้าง (ซึ่งอาจจะมาจากไอน้ำมันจากจาระบี)


ทำไมเราต้องใช้ปั๊มลมออยฟรี ในเมื่อ เราสามารถใช้ปั๊มลมแบบมีน้ำมันหล่อลื่นแล้ว ใช้ฟิลเตอร์กรองน้ำมันออกได้??

โดยส่วนใหญ่ ผู้ใช้งานมักจะนึกแบบนี้ ใช้ฟิลเตอร์ที่มีความละเอียดในการกรอง เช่น ฟิลเตอร์ 1 ไมครอน, 
ฟิลเตอร์ 0.01 ไมครอน และ คาร์บอนฟิลเตอร์ มาใช้ในการกรอง เรามาดูกันว่า จะกรองได้จริงหรือไม่

     จากรูปด้านบน จะเห็นว่า เมื่อเราใช้ฟิลเตอร์ที่มีความละเอียด 1 และ 0.01 ไมครอน ก็ยังคงมีน้ำมันเหลือในระบบ และในเรื่องของไอน้ำมัน และกลิ่น ยังคงอยู่ นั่นแสดงว่า ฟิลเตอร์ของเราดักไอน้ำมัน และกลิ่น ไม่ได้ เราจึงต้องใช้ คาร์บอนฟิลเตอร์ มาเพิ่มเพื่อดักจับไอน้ำมัน และกลิ่น แต่คาร์บอนฟิลเตอร์เมื่อดักจับไอน้ำมัน และกลิ่น จนอิ่มตัว สารคาร์บอนนี้ก็จะไม่สามารถดูดซับไอน้ำมัน และกลิ่น ได้อีก ทำให้เกิดการรั่วไหลของไอน้ำมัน และกลิ่น เข้าสู่กระบวนการผลิต  

     และข้อจำกัดอีกอย่างของสารคาร์บอนนี้คือ ถ้าอุณหภูมิลมอัดสูงขึ้น ปริมาณไอน้ำมันในลมอัดก็จะยิ่งสูงขึ้นตาม ในการทดสอบ ถ้าอุณหภูมิลมอัดสูงถึง 40 องศาเซลเซียส อายุของคาร์บอนฟิลเตอร์จะมีแค่ 100 ชั่วโมง เท่านั้น     

     แล้วปั๊มลมประเภทไหนที่เหมาะกับ อุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งก็มีการถกเถียงกันว่า ปั๊มแบบมีน้ำมันหล่อลื่น กับ ปั๊มแบบออยฟรี 
ทั้งนี้ ก็ขึ้นกับลักษณะการใช้งานหรือกระบวนการผลิตว่า ลมอัดจะสัมผัสโดยตรง หรือ ไม่มีการสัมผัส 

     จะเห็นได้ว่า มีข้อแตกต่างตรงที่   ถ้าไม่มีการสัมผัสโดยตรง จะยอมรับให้มีการปนเปื้อนของน้ำมันได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.01 mg/m3 
ถ้ามีการสัมผัสโดยตรง การปนเปื้อนของน้ำมันต้องน้อยกว่า 0.01 mg/m3 เท่านั้น

 


แล้วถ้าเราใช้น้ำมันหล่อลื่นที่เป็นฟู้ดเกรด?? 

 

     อย่าลืมว่า น้ำมันหล่อลื่นทุกชนิดไม่ได้มีไว้กินหรือดื่ม ในเอกสารด้านความปลอดภัยของน้ำมันหล่อลื่นเกรดฟู้ดเกรด (MSDS) ยังระบุไว้ว่า ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือสูดดมโดยตรง และในน้ำมันหล่อลื่น มีสารเพิ่มประสิทธิภาพหลายอย่าง ที่อาจทำให้คนหรือสัตว์แพ้ได้ 
ดังนั้นทางออกเดียวที่ดีทีสุดคือการใช้ปั๊มลมแบบออยฟรี

ชนิดของปั๊มลมแบบออยฟรี

1. Oil Free Piston Compressor : จะมีขนาดตั้งแต่ 1.5 แรงม้า ถึง 20 แรงม้า

2. Scroll Oil Free Compressor : จะมีขนาดตั้งแต่ 2 แรงม้า ถึง 50 แรงม้า

3. Rotary Claw Compressor : จะมีขนาด 30 แรงม้า กับ 50 แรงม้า

4. Rotary Screw oil free :

4.1 Dry screw compressor : single screw or two stage screws 
4.2 Water injected screw compressor : WIS

QR-AIR.png

แผนก  Air Compressor

 

Email : sales.air@pneumax.co.th

โทรศัพท์ : 02-726-8000 ต่อ 640, 643, 644, 661

Line-AIR-07-07-07.png
bottom of page