top of page
Pneumatic Actuator
หัวขับลม (Pneumatic Actuator) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปิด-ปิด valve ประเภทต่างๆ เช่น Butterfly Valve , Ball Valve เป็นต้น ซึ่งหัวขับลมจะต้องมีแรงดันลมเป็นต้นกำลังในการทำงาน หัวขับลมจะแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ Single Acting (Spring Return) และ Double Acting การเลือกใช้งานหัวขับลมแต่ละลักษณะก็ขึ้นอยู่กับความต้องการการใช้งานของผู้ใช้งาน ว่าต้องการใช้งานเปิด-ปิด ในลักษณะใด
Single Acting (Spring Return) มีลักษณะการทำงานคือเมื่อจ่ายลมเข้าหัวขับ หัวขับจะเปลี่ยนสถานะ เช่น จากปกติปิดอยู่ก็จะเปิดออกเมื่อมีการจ่ายลม แต่หากหยุดจ่ายลมเข้าหัวขับ ภายในหัวขับจะมี Spring ดันกลับให้มีการปิดทันที
Double Acting มีลักษณะการทำงานคือเมื่อจ่ายลมเข้าครั้งหนึ่งเพื่อเปลี่ยนสถานะ แล้วสถานะของ valve จะค้างไว้เป็นสถานะล่าสุด หากเราต้องการเปลี่ยนสถานะกลับจะต้องจ่ายลมเข้าอีกครั้งหนึ่ง
ภาพที่ 1 ค่าทอร์คช่วงการเปิดปิดของหัวขับลม
The curves indicate more or less evolution of actuator’s torque in relation of resistance offered by the valves.
CURVE 1 DA actuator with OMAL scotch-yoke system
CURVE 2 DA actuator with rack-and-pinion system
CURVE 3 Floating ball valve
CURVE 4 Lined butterfly valve
A torque required to activate a long-standing close valve - B torque required to activate a short-standing close valve
ผนังกระบอกลูกสูบด้านหลัง
ผนังกระบอกลูกสูบด้านหลัง
Scotch-Yoke
Rack-and-pinion
More Radial
More Torque
Less Radial
Less Torque
การออกแบบให้มีรัศมีการหมุนมากในช่วงเริ่มต้นและสุดท้าย ดังนั้นจึงทำให้มีแรงบิด (Torque) เริ่มต้นเปิด-ปิดสูง ซึ่งเป็นผลดีกับการเปิด Ball Valve และ Butterfly Valve เนื่องจากวาล์วทั้งสองชนิดนี้ ต้อง การแรงบิด (Torque) ในช่วงเปิดปิดสูง ดังภาพที่ 1
รัศมีการหมุนคงที่ (รัศมีของฟันเฟืองกลม) ทำให้ค่าแรงบิดคงที่ตลอด ดังนั้นแรงบิดช่วงเปิดกับช่วงปิดจึงไม่สูง
มีขนาดเล็กกว่าที่ค่าแรงบิดที่เท่ากัน
มีขนาดใหญ่กว่า
Seal ลูกสูบทำมาจาก PTFE เคลือบ Grafite ทำให้มีแรงเสียดทานต่ำบริเวณซีลกับผนังกระบอก ตลอดอายุการใช้งาน
Seal ทำมาจาก NBR แรงเสียดทานสูง ทำให้ต้องใส่สารหล่อลื่น (Lubricant) ตลอดอายุการใช้งาน
ไม่มีการสัมผัสระหว่างชิ้นส่วนที่เป็นโลหะกับโลหะ และตัว Special pin มีสารหล่อลื่นอัดอยู่ภายใน
จึงไม่จำเป็นต้องใช้สารหล่อลื่นตลอดอายุการใช้งาน
การทำงานเป็นแบบเฟืองขบกันมีการสัมผัสระหว่างโลหะกับโลหะ จึงจำเป็นต้องใช้สารหล่อลื่น
ผนังลูกสูบหลังออกแบบให้เป็นร่องทางลมซึ่งเปรียบเสมือนตัวเบาะลมหน่วงเวลาที่กระบอกสูบเลื่อนสุด เพื่อช่วยลดแรงกระแทก
ผนังลูกสูบด้านหลังเรียบ ทำให้เกิดการกระแทกเวลาเลื่อนสุด
ข้อดีของหัวขับลม OMAL
- ผิวกระบอกสูบ ทนต่อการกัดกร่อน
- ตัว Shaft ทำจาก Stainless Steel ทนต่อการกัดกร่อนสูง
- ผิวภายนอกทำจาก Aluminium ทนต่อการกัดกร่อน
- อุปกรณ์ภายในทนต่อการกัดกร่อนของสิ่งแวดล้อม
- สามารถกันน้ำได้
bottom of page