วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve)
เมื่อปั้มจ่ายนํ้ามันจะทำให้เกิดอัตราการไหลเพื่อ ป้อนให้แก่กระบอกสูบหรือมอเตอร์ไฮดรอลิค และเมื่อนํ้ามันถูกขวาง การไหลด้วยกระบอกสูบหรือมอเตอร์ไฮดรอลิค ความดันในระบบจะเกิดขึ้น ตามภาระ(Load) อย่างไรก็ตามถ้าไม่มีการควบคุมความดัน จนทำให้เกิดความดันสูงเกินความต้องการ อุปกรณ์ไฮดรอลิคต่างๆจะเกิดความเสียหายได้ ดังนั้น วาวล์ควบคุมความดันในระบบไฮดรอลิคไม่เพียงแต่มีหน้าที่ควบคุมความดันในระบบไม่ให้มีค่าสูงเกิน ยังมีจุดประสงค์อื่นๆอีก คือ
1.แบบรีโมทคอนโทรล
วงจรไฮดรอลิคที่ใช้ Flow Divider เมื่อปั๊มจ่ายน้ำมันออกไป 10 L/min สั่งให้แกนกระบอกเคลื่อนออกโดยให้ Solenoid Valve coil ''10'' ทำงานน้ำมันจากปั๊มไหลผ่าน Solenoid Valve ไปยัง Flow Divider, Flow Divider แบ่งอัตราการไหลออกเป็น 2 ทาง เท่าๆกัน 5L/min ก่อนน้ำมันจะไหลเข้ากระบอกไฮดรอลิคทั้ง 2 ตัว ที่ 5L/min ทำให้แกนกระบอกไฮดรอลิคเคลื่อนที่ออกที่ความเร็วเท่าๆกัน
แบบวงจรรีโมทคอนโทรล
2.ลดภาระ (Load) ปั้ม และมอเตอร์ไฟฟ้า
เมือปั้ม ทำงานทีความดันสูงตลอดเวลา ปั้ม จะทำงานงานหนักและทำให้สิ้น เปลืองพลังงานไฟฟ้าดังนั้น ในบางระบบหลังจากกระบอกสูบดันและอัดชิ้น งานเสร็จ จำเป็นต้องค้างอยู่ตำแหน่งนั้น นานสักระยะหนึง ไม่ต้องการให้ปั้ม ทำงานที่ความดันสูงตลอดเวลา หรือในขณะยังไม่มีการทำงานของกระบอกสูบแต่ยังคงให้ปั้ม ทำงานอยู่ตลอดเวลาก็ควรลดภาระ (Load) ของปัม ให้ทำงานที่ ความดันตํ่าได้โดยการต่อวงจรแบบ venting pilot operated relief valve
แบบวงจรลดภาระ (Load) ปั้ม และมอเตอร์ไฟฟ้า
3.แบบความดันได้หลายระดับ
ระบบไฮดรอลิคบาง Application ต้องการทำงานหลายๆ ความดันเพื่อ ให้ความดันเหมาะสมกับภาระ (Load) และต้องการรักษาความดันให้พอดีกับชิ้น งาน เช่น การอัดขึ้น รูปชิ้นงานที่ต้องการความดันหลายระดับ
แบบวงจรความดันได้หลายระดับ