Refrigerated Air Dryer
เครื่องทำลมแห้ง แบรนด์ Orion จากประเทศญี่ปุ่น
เป็นเครื่องทำลมแห้งที่มีเทคโนโลยีแตกต่างจากแบรนด์อื่นทั่วไป
มีจุดเด่นหลายอย่าง โดยเฉพาะ
-
ชุดแลกเปลี่ยนความร้อน ที่เป็น Air to air heat exchanger หรือ Evaporator จะอยู่ในชุดหรือห้อง Chamber เดียวกัน และห้อง Chamber นี้ทำด้วย Stainless steel ป้องกันการกัดกร่อนและลดปัญหาเรื่องความดันตกคร่อม
-
ในชุด air to air heat exchanger ท่อลมเย็นขาออกทำเป็นผิวเกลียว (Turbo tube) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของ Orion เพื่อเพิ่มความเร็วลมในการแลกเปลี่ยน และลดความดันตกคร่อม
-
ในชุด Evaporator ได้ใช้เทคนิคการไหลของลมอัดแลกเปลี่ยนความร้อนกับท่อน้ำยาแอร์ แบบ Cross wave fin ทำให้การแลกเปลี่ยนความร้อนทำได้ดีที่สุด และสามารถช่วยแยกน้ำที่คอนเด็นซ์จากลมอัดออกมาได้ดียิ่งขึ่น ลดความสูญเสียเรื่องความดันตกคร่อม
-
ท่อน้ำยาแอร์ ที่โดยปรกติจะใช้เป็นท่อทองแดง แต่ทาง Orion ได้พัฒนาใช้เป็นท่อทองแดงชุบนิกเกิ้ล (Nickel-Plated Copper tube) ทำให้ทนท่อการกัดกร่อน และ ทนต่อสภาวะการใช้งานที่มีไอสารระเหยได้ดีกว่าเครื่องทำลมแห้งแบรนด์อื่นๆ
5. นอกจากนี้ ทาง Orion ได้เพิ่ม Pre filter ที่เป็นแผ่นกรองฝุ่นป้องกันสิ่งสกปรกที่จะมาเกาะแผงรังผึ้งระบายความร้อน ทำให้การระบายความร้อน
ของ เครื่องทำลมแห้งได้ประสิทธิภาพยาวนานขึ้น
6. ด้วยการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ทาง Orion ได้ใช้น้ำยาที่ไม่มีสาร CFC ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ (R407c)
7. จะเห็นว่า ทาง Orion เน้นเรื่องความดันตกคร่อม ก็เพื่อให้ผู้ใช้งานประหยัดด้านพลังงานที่จะสูญเสียไป ลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของปั๊มลม ความดันตกคร่อมของ เครื่องทำลมแห้ง Orion จะอยู่ที่ไม่เกิน 0.015 บาร์
การเปรียบเทียบค่าไฟฟ้าที่สูญเสียเนื่องจากความดันลมดรอป หรือ ตกคร่อม เมื่อผ่านเครื่องทำลมแห้ง จะได้เป็นกราฟดังนี้
จากกราฟและตารางเปรียบเทียบจะเห็นว่า ความดันลมอัดที่ผ่านเครื่องทำลมแห้งของแบรนด์อื่น จะดรอปหรือมีความดันตกคร่อม มากกว่า ของ Orion ถึง 0.019 บาร์ ถ้าคิดเป็นปั๊มลมขนาด 50 แรงม้า ค่าไฟฟ้าคิดเป็น 0.15 ดอลล่าร์สหรัฐต่อหน่วย และทำงาน 8000 ชั่วโมง จะเห็นได้ว่า เมื่อใช้เครื่องทำลมแห้ง ของ Orion จะประหยัดค่ากระแสไฟฟ้าได้ถึง 651 ดอลล่าร์สหรัฐต่อปี