การเลือกใช้งานรีเลย์ (Relay)
รีเลย์ (relay) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าเปรียบเสมือนสวิตซ์สำหรับตัดต่อในวงจรควบคุมอัตโนมัติ ซึ่งหลักการทำงานของรีเลย์จะทำงานโดยการป้อนไฟฟ้าให้กับขดลวด เพื่อเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าให้เป็นสนามแม่เหล็กไปใช้สำหรับดูดหน้าสัมผัส (contact) ให้เปลี่ยนทิศทางการไหลของไฟฟ้า
ส่วนประกอบของ Relay
-
ขดลวด (coil) ทำหน้าที่รับแรงดันไฟฟ้าและเปลี่ยนเป็นสนามแม่เหล็ก เพื่อไปดูดหน้าสัมผัส
-
หน้าสัมผัส (contact) ทำหน้าที่เหมือนสวิทซ์ เพื่อกำหนดทิศทางการจ่ายไฟ
ประเภทของรีเลย์(relay)
-
เพาเวอร์รีเลย์ (Power Relay)
-
แลทซิ่งรีเลย์ (Latching Relay)
-
เซฟตี้รีเลย์ (Safety Relay)
-
ไทม์เมอร์รีเลย์ (Timer Relay)
-
เทอร์มินอลรีเลย์ (Terminal Relay)
-
สเต็ปปิ้งรีเลย์ (Stepping Relay)
การเลือกใช้งานรีเลย์
-
แรงดันของขดลวดไฟฟ้า คือแรงดันไฟที่จ่ายให้กับขดลวดเพื่อให้เกิดการเหนี่ยวนำ เช่น 24VDC, 220VAC
-
การทนกระแสของหน้าสัมผัส คือกระแสสูงสุดที่หน้าสัมผัสทนได้ เช่น 5A 220VAC
-
จำนวนหน้าสัมผัส คือจำนวนชุดของหน้าสัมผัส(contact) เช่น 2 คอนแทค(2 NO/2NC), 4คอนแทค(4NO/4NC)
ทางบริษัทนิวแม็ก จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่ายรีเลย์แบรนด์ Schneider รุ่น RXM miniature plug-in relay
RXM ปลั๊กอินรีเลย์ รุ่นประหยัด
-
มีให้เลือกทั้งแบบ 2คอนแทค และ 4คอนแทค
-
ทนกระแสได้สูงสุดถึง 5 แอมป์(A)
-
มีแถบบอกสถานะการทำงานทางกล
-
มีไฟ LED แสดงสถานะการทำงาน (ขึ่นอยู่กับรุ่นที่เลือกใช้)
-
ใช้งานร่วมกับขาเสียบ 8pins และ 14pins ทั่วไปได้
RXM4LB2BD 4 คอนแทค แบบ LED ไฟเลี้ยงคอย 24VDC
ตัวบอกสถานะแบบทางกล
LED บอกสถานะ