top of page

Shock Absorber

Shock Absorber-1.png

กำลังการผลิตเป็นองค์ประกอบสำคัญของทุกอุตสาหกรรม การที่สามารถผลิตสิ่งต่างๆได้มากขึ้นโดยใช้เวลาเท่าเดิมหรือ

น้อยกว่าเดิมนั้นแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่การจะได้มาซึ่งผลผลิตที่มากขึ้นนั้นก็ต้องแลกมาด้วยการทำงานของเครื่องจักรที่รวดเร็วมากขึ้น และทำงานมากขึ้น

       การเพิ่มความเร็วการทำงานเครื่องจักรนั้นทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น การสึกหรอเนื่องจากชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนที่ การเกิดแรงกระแทกต่างๆของกระบวนการ การเกิดเสียงรบกวน ตลอดจนการสั่นสะเทือนของเครื่องจักร สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องจักร และชิ้นส่วนของเครื่องจักรนั้นจะมีอายุการใช้งานสั้นลงกว่าปกติมาก ทำให้ต้องมีการซ่อมบำรุงเครื่องจักรบ่อยครั้ง ซึ่งนั่นส่งผลต่อกำลังการผลิต เนื่องจากต้องหยุดการทำงานของเครื่องจักร เพื่อตรวจเช็คความเสียหาย และทำการซ่อมบำรุง ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในกระบวนการผลิต และยังส่งผลทำให้ตัวผลิตภัณฑ์มีคุณภาพด้อยลงไปด้วย

       Shock Absorber ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการเปลี่ยนรูปพลังงานจลน์ที่มากับความเร็วที่ของวัตถุให้เป็นพลังงานความร้อน แล้วกระจายพลังงานที่เกิดขึ้นดังกล่าวออกสู่สภาวะแวดล้อม ส่งผลให้แรงกระแทก ความเร็ว และแรงสั่นสะเทือนนั้นหายไปจากระบบ ซึ่งเหตุผลนี้จะส่งผลดีต่อเครื่องจักร และกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ

Energy Absorbtion

       หลักการทำงานของ Shock Absorber คือการดูดซับพลังงานภายในระบบ และส่งถ่ายพลังงานที่ได้รับออกสู่สภาวะแวดล้อมในรูปแบบพลังงานความร้อน จากรูปจะแสดงการนำอุปกรณ์ต่างๆ มาเปรียบเทียบการทำงาน  ซึ่งจะแสดงถึงประสิทธิภาพ ข้อดี และข้อเสียของแต่ละอุปกรณ์ หากนำมาใช้งานในการดูดซับพลังงานภายในระบบ

Shock Absorber-2.png

Rubber Bumper & Metal Spring

เมื่อวัตถุตกลงมากระทบกับตัวอุปกรณ์ พลังงานจากตัววัตถุจะถูกส่งไปยังตัวอุปกรณ์ ทำให้เกิดการอัดตัวของตัวของลูกยาง

หรือสปริง และเมื่อพลังงานจากตัววัตถุถูกดูดซับจนหมด พลังงานที่ถูกเก็บไว้ในตัวอุปกรณ์จะถูกปล่อยย้อนกลับไปหาวัตถุ จึงเกิดแรงกระทำกับตัววัตถุส่งทำให้วัตถุเคลื่อนที่ย้อนกลับไปในทิศทางที่ตกลงมา ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการนำมาใช้งานในลักษณะนี้

Shock Absorber-3.png
Shock Absorber-4.png

Cylinder Cushion

ในการดูดซับพลังงานของตัว Cushion จะมีขีดจำกัดในการทำงานที่ต่ำ ไม่เพียงพอต่อการใช้ดูดซับพลังงานในหลายๆ

กระบวนการ เนื่องจากการทำงานของcushionมีช่วงระยะการทำงานที่สั้น และต้องใช้งานโดยที่ความดันดันภายในกระบอกลมต่ำ เนื่องจากถ้ามีความดันมากก็จะทำให้กระบอกลมออกแรงสู้กับวัตถุที่ตกลงมากระทบ (ไม่เกิดการดูดซับพลังงาน) ส่งผลทำให้พลังงานในระบบที่เกินความสามารถในการดูดซับของ cushion กระจายสู่ภายนอกในรูปแบบ แรงกระแทก แรงสั่น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อโครงสร้างเครื่องจักร และ ผลิตภัณฑ์ เพราะฉนั้น cushion จึงไม่เป็นที่ต้องการในการทำงานลักษณะนี้

Shock Absorber-5.png

Shock Absorber

การใช้อุปกรณ์ Shock Absorber ดูดซับพลังงานในระบบนั้นเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด เนื่องจากพลังงานจลน์จะถูกดูดซับ

เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน และความร้อนจะกระจายออกสู่นอกระบบผ่านผิวของ Shock Absorber ซึ่งนั่นนอกจากจะทำให้ไม่มีพลังงานหลงเหลือภายในระบบ พอที่จะเปลี่ยนเป็นแรงกระแทก หรือแรงสั่น แล้วนั้นยังไม่เกิดการย้อนกลับของพลังงานเหมือนกรณีที่ใช้สปริงอีกด้วย  

 

Shock Absorber-6.png
Shock Absorber-7.png

Shock Absorber มีทั้งแบบปรับค่าความแข็งได้ และ ไม่สามารถปรับค่าความแข็งได้ 
สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม

 

Advantages of Shock Absorber

- Longer Machine Life
- Higher Operating Speeds
- Improved Production Quality
- Safer Machinery Operation

Type of Shock Absorber

Adjustable Single Orifice
Shock Absorber-9.png
Shock Absorber-10.png

เหมาะสมใช้กับงานที่มีความเร็วการเคลื่อนที่ของวัตถุสูง น้ำหนักของวัตถุที่มากระแทกเบา ด้วยโครงสร้างแบบ

Single Orifice ทำให้ดูดซับพลังงานได้ดีมากในช่วงแรกของระยะ Stroke ไม่ควรใช้กับงานที่วัตถุที่มีน้ำหนักมาก

 

Adjustable Multiple Orifice
Shock Absorber-11.png
Shock Absorber-12.png

เหมาะสมใช้กับงานที่มีความเร็วการเคลื่อนที่ของวัตถุสูง น้ำหนักของวัตถุที่มากระแทกเบา ด้วยโครงสร้างแบบ

Single Orifice ทำให้ดูดซับพลังงานได้ดีมากในช่วงแรกของระยะ Stroke ไม่ควรใช้กับงานที่วัตถุที่มีน้ำหนักมาก

 

Non-Adjustable Shock Absorber Multiple Orifice
Shock Absorber-13.png
Shock Absorber-14.png

ECO Series การทำงานของ Shock absorber ซีรี่นี้ มีความพิเศษในเรื่องของการนำไปใช้งาน ซึ่งสามารถใช้งาน

ได้กับกระบวนการที่ความเร็ว หรือ น้ำหนักของวัตถุไม่แน่นอน เนื่องจากโครงสร้างการวางตำแหน่งของรู orifice ซึ่งแต่ละช่วง Stroke ของ Shock absorber นั้น ระยะห่างของรู orifice จะไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีการทำงานที่มีความยืดหยุ่นสูง

 

Adjustable Techniques

Shock Absorber-15.png
Shock Absorber-16.png
Shock Absorber-17.png
Shock Absorber-18.png
Shock Absorber-19.png

การปรับใช้งานอย่างถูกต้องจะทำให้การกระจายของพลังงานเป็นไปอย่างปลอดภัย ลดปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น

ภายในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การหมุนตั้งค่าสามารถหมุนตั้งค่าได้ตั้งแต่ เลข “0” ถึงเลข “8” โดยที่เลข “0” คือการเปิดช่องรู orifice และเลข “8”

คือการลดพื้นที่หรือจำนวนรู orifice ที่เปิดอยู่ให้เหลือน้อยที่สุด

ในการติดตั้งใช้งานครั้งแรกให้ทำการหมุนตั้งค่าไว้ที่ “0” ก่อน แล้วทำการเปิดใช้งานเครื่องจักร เพื่อทำการสังเก9

การทำงานช่วงสุดท้ายของระบบ หากมีแรงกระแทกส่งไปถึงเครื่องจักร ให้ทำการหมุนปรับเป็นเลข “1” แล้วจึงลองทดสอบดูอีกครั้ง ทำซ้ำๆจนได้ค่าการปรับที่เหมาะสม

*** ห้ามหมุนปรับข้ามเลข เพราะอาจจะเกิดผลเสียต่อตัวอุปกรณ์ หรือเครื่องจักรได้

Applications

Shock Absorber-20.jpg
Shock Absorber-21.jpg
Shock Absorber-22.jpg
Shock Absorber-23.jpg

แผนก  Pneumatic

 

Email : sales.pne@pneumax.co.th

โทรศัพท์ : 02-726-8000 ต่อ 517-519

bottom of page