top of page
อันโหลดดิ้งรีลีฟวาล์ว (Unloading Relief Valve)
อันโหลดดิ้งรีลีฟวาล์ว (Unloading Relief Valve) เป็นวาล์วควบคุมความดันในระบบไฮดรอลิคประเภทหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้ในวงจรที่มีถังสะสมพลังงาน (Accumulator) ประกอบอยู่ด้วย เพื่อควบคุมการจ่ายน้ำมันของปั๊มไฮดรอลิค ให้ถังสะสมพลังงานและเก็บสำรองน้ำมันภายใต้ความดันที่กำหนด เพื่อลดภาระสูญเสียของระบบ (Energy loss) และความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นในระบบ (Heat)
และใช้กับวงจรทำงานแบบ High-Low Circuit ซึ่งจะใช้คู่กับปั๊ม 2 ตอน (Fixed Double Pump) เป็นตัวต้นกำลัง โดยปั๊มตอนที่ 1 เป็นปั๊มที่จ่ายอัตราการไหลสูงแต่ความดันต่ำ และปั๊มตอนที่ 2 จ่ายอัตราการไหลต่ำแต่ต้องการความดันสูง โดย Unloading Valve ทำหน้าที่ควบคุมความดันของปั๊มตอนที่ 1 (Large pump) เปิด/ปิดน้ำมันบายพาสกลับถังน้ำมัน เพื่อลดภาระโหลดของมอเตอร์ไฟฟ้า และลดขนาดกำลังขับของมอเตอร์ไฟฟ้า (Energy Saving
รูปภาพวงจรการต่อ Unloading Relief Valve ใช้งานกับถังสะสมพลังงาน
ถังสะสมพลังงาน (Accumulator)
วงจรไฮดรอลิคที่มีถังสะสมพลังงาน จะมีการควบคุมการเติมน้ำมันให้กับถังสะสมพลังงาน เมื่อความดันที่ถังสะสมพลังงานมีค่าลดต่ำลงจนถึงระดับ Cut-in ซึ่งเป็นจุดที่ต้องการให้ปั๊มจ่ายน้ำมันเข้าไปในถังสะสมพลังงาน เมื่อความดันในถังสะสมพลังงานสูงขึ้นจนถึงจุด Cut-out ซึ่งเป็นจุดที่ไม่ให้ปั๊มจ่ายน้ำมันไปยังถังสะสมพลังงาน แต่ปั๊มจะจ่ายน้ำกลับไปที่ถังเก็บด้วย Unloading Valve ที่ความดันตกคร่อม (Pressure drop) ของตัว Unloading และช่วยลดโหลดให้กับปั๊ม
รูปภาพวงจรการใช้งาน High – Low Pressure Pump ด้วย Unloading Relief Valve
เมื่อต้องการให้กระบอกสูบยืดออกด้วยความเร็ว แต่ไม่ต้องการแรงในการกดหรืออัดชิ้นงาน หลังจากที่กระบอกสูบยืดออกและสัมผัสกับชิ้นงานแล้ว
ไม่ต้องการความเร็วในการเคลื่อนที่ แต่ต้องการแรงในการกดหรืออัดชิ้นงาน จะทำให้ความดันในระบบสูงขึ้น Unloading Valve จะทำหน้าที่ Cut-out เปิดให้น้ำมันของ Large Pump ไหลกลับถังที่ความดันต่ำ กระบอกสูบจะทำงานที่ความเร็วช้าลงแต่ความดันจะสูงขึ้นเพื่อกดหรืออัดชิ้นงานด้วย Small Pump
จากตัวอย่างวงจรข้างต้น Unloading Valve เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ลดภาระโหลดในระบบไฮดรอลิค หมายถึงการทำให้ปั๊มจ่ายน้ำมันสามารถไหลกลับถังพักได้ที่ความดันต่ำๆ ในระหว่างหยุดพักของจังหวะงาน ซึ่งชุดต้นกำลังยังคงทำงานต่อไป ไม่ควรหยุดตามจังหวะงาน เพราะการเปิด-ปิดชุดต้นกำลังบ่อยๆ จะมีผลเสียหายต่ออุปกรณ์ของชุดต้นกำลัง
bottom of page