top of page

Vibrator

     อุปกรณ์สร้างแรงสั่นสะเทือน (Vibrator) สำหรับงานอุตสาหกรรม โดยใช้หลักการของแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง ใช้กับงานที่ต้องการการเคาะ สั่น เขย่า ช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการใช้แรงคนในการทำงาน และปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเครื่องจักรและอุปกรณ์ อุปกรณ์สร้างแรงสั่นสะเทือนมีทั้งแบบสั่งการด้วยลมและสั่งการด้วยไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ลักษณะงาน และความสะดวกของผู้ใช้

     โดยทั่วไปใช้ในการเขย่าวัสดุที่ติดตาม Silo/Hopper ให้ไหลลงมา รูปแบบการติดแบ่งได้ 4 แบบ คือ แบบวัสดุอัดติดกันแน่น (COMPACTION) แบบติดตามด้านข้างเป็นช่องยาวตรงกลาง (RAT HOLE) แบบติดขัดบริเวณปากทางออก (BRIDGING) และสุดท้ายแบบติดอยู่เล็กน้อย (REMAINDERS) ถ้าจะทำให้วัสดุที่ติดอยู่ไหลออกโดยการเคาะ ทุบ ตี อาจทำให้ตัว Silo/Hopper ได้รับความเสียหาย และคนที่ทำอาจได้รับบาดเจ็บได้ 

วิธีการคำนวนเลือกรุ่นเบื้องต้น

โดยการหาค่าน้ำหนักของวัสดุที่อยู่ใน Silo/Hopper บริเวณส่วนที่เอียงช่องทางออก Silo/Hopper

W  =  น้ำหนักทั้งหมด
PS  =  ค่าความถ่วงจำเพาะ
W  =  ปริมาตร x ค่าความถ่วงจำเพาะ

ตัวอย่าง : 
     Silo รูปทรงสี่เหลี่ยม พื้นที่ด้านบนกว้าง 100 เซนติเมตร ยาว 80 เซนติเมตร พื้นที่ด้านล่างกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร สูง 150 เซนติเมตร วัสดุด้านในเป็นทรายแห้ง (ความถ่วงจำเพาะ = 1.602)

ดังนั้น น้ำหนักทั้งหมด (W)   =     [(100x80) + (30x30)] x 150 x 2.7
                                                                                                                                           2
                                         =     1,802,250 g                  
                                         =     1,802.25 kg

จากนั้นนำค่าที่ได้มาเทียบกับตาราง

ตารางเลือกรุ่นสำหรับอุปกรณ์สร้างแรงสั่นด้วยลม

จากการคำนวนได้น้ำหนัก 1,802.25 kg และวัสดุเป็นทรายแห้ง 
ดังนั้นให้ดูช่องน้ำหนัก 2,000 kg ในส่วนแรกที่เป็นวัสดุแห้ง

รุ่นที่สามารถเลือกได้ คือ K-36, R-65 และ GT-20 โดยแต่ละรุ่นจะมีข้อดีต่างกันไปขึ้นอยู่กับการใช้งาน

เราสามารถใช้การคำนวนนี้เพื่อไปเลือกรุ่นอุปกรณ์สร้างแรงสั่นด้วยไฟฟ้า (Electric Vibrator) หรืออุปกรณ์สร้างแรงเคาะ (Hammer) ได้เช่นกัน

     หลักจากเลือกรุ่นได้แล้ว ตัวอุปกรณ์จะถูกนำไปติดตั้งที่ตัว Silo/Hopper ที่ระยะ 1 ใน 3 ของความสูงนับจากปากทางออก ถ้าติดมากกว่า 1 ตัว ตำแหน่งต่อไปติดที่ระดับเดียวกันแต่ฝั่งตรงกันข้าม และตัวต่อมาติดที่ระยะ 2 ใน 3 ของความสูงนับจากปากทางออก ระหว่างตัวที่ 1 กับ 2 และตัวต่อไปติดฝั่งตรงกันข้าม

     ในการติดตั้งอุปกรณ์สร้างแรงสั่น เราไม่ควรติดตั้งโดยตรงกับตัว Silo/Hopper ควรทำแผ่นเพลทลองไว้ก่อน โดยความหนาของแผ่นเพลทขึ้นอยู่กับแรงสั่น เช่น แรงสั่นขนาด 300 kg ควรใช้แผ่นเพลทหนา 10 mm   

แรงสั่นขนาด 800-1,000 kg  ควรใช้แผ่นเพลทหนา 12-15 mm และแรงสั่นขนาด 1,800-2,300 kg ควรใช้แผ่นเพลทหนา 20-25 mm เป็นต้น

     โดยทั่วไปอุปกรณ์สร้างแรงสั่นจะสร้างแรงสั่นจากตัวรอบทิศทาง เราสามารถดัดแปลงการติดตั้งโดยการติดตั้งอุปกรณ์สร้างแรงสั่นให้มีทิศทางการหมุนสวนทางกันไว้ด้วยกัน จะทำให้เกิดแรงสั่นในแนวเส้นตรง

      ลักษณะงานที่ใช้การสั่นแนวเส้นตรง คือ การแยกขนาดวัสดุ และการลำเลียงวัสดุ

     ในการติดตั้งเพื่อใช้ในการแยกขนาดวัสดุหรือการลำเลียงวัสดุนั้น ต้องติดตั้งให้แนวการสั่นทำมุมเอียงกับระนาบของถาดที่ใส่วัสดุ โดยมุมเอียงขึ้นอยู่กับลักษณะงาน

ถ้าเป็นลักษณะการแยกขนาดวัสดุ ใช้มุมเอียงประมาณ 40-50 องศา ส่วนการลำเลียงวัสดุนั้นใช้มุมเอียงประมาณ 20-40 องศา

QR-PNE.png

แผนก  Pneumatic

 

Email : sales.pne@pneumax.co.th

โทรศัพท์ : 02-726-8000 ต่อ 517-519

Line-PNE_Artboard 38.png
bottom of page