ความหนืด ความดันลด และอัตราการไหล
(Viscosity, Pressure Drop and Flow Rate)
ความหนืด (Viscosity, μ) คือ คุณสมบัติการต้านการเคลื่อนที่ของของไหล เมื่อของไหลมีการเคลื่อนที่ แต่ละโมเลกุลของของไหล จะมีการเคลื่อนที่ชนกันไปมาตลอดเวลาด้วยทิศทางที่ไม่แน่นอน ซึ่งจะส่งผลให้การเคลื่อนที่ของของไหล หรือการเคลื่อนที่ของวัตถุในของไหลทั้งระบบช้าลง เรียกว่า เกิดความหนืด (Viscosity) ขึ้นในของไหลและของเหลวทุกชนิด และความหนืดและแรงหนืดในของเหลวแต่ละชนิดมีค่าไม่เท่ากัน
น้ำมันไฮดรอลิค มีค่าความหนืดหลายเบอร์ให้เลือก ตั้งแต่ ISO VG32,46,68,100 และ150
pressure drop (ความดันลด) เป็นผลจากแรงเสียดทานในระบบ ขึ้นอยู่กับความเร็วของของไหลในเส้นท่อ ความยาวท่อ ขนาดท่อ สภาพท่อ(ผิวเรียบหรือขรุขระ)ความเร็วสูง แรงเสียดทานมาก แรงดันก็ลดลง นอกจากนี้แรงดันลดจะเกิดจากความเสียดทานจากการไหลผ่านข้องอ วาล์ว ฯลฯ อีกด้วย
การสูญเสียทั้งหมดจะเกิดขึ้นมาจากแรงเสียดทานระหว่างชั้นของของไหลที่อยู่ ชิดกับผนังของท่อ หรือความหนืดโดยความดันที่สูญเสียไปเนื่องจากแรงเสียดทาน Δp
อัตราการไหล (Flow rate) ถูกกำหนดโดยการวัดค่าความเร็วของเหลว (velocity)หรือการเปลี่ยนแปลงในพลังงานเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว(kinetic energy) อัตราการไหล(Flow rate)ขึ้นอยู่กับความแตกต่างกันความกดดัน(pressure) คือกำลังบังคับให้ของเหลวผ่านท่อ เพราะว่าพื้นที่ส่วนที่ตัดตามขวางของท่อ(cross-section area) เป็นค่าคงที่ ความเร็วเฉลี่ยคือการชี้บอกของอัตราการไหล
ความสัมพันธ์พื้นฐานสำหรับอัตราไหลในกรณีนั้นปัจจัยอื่นๆ ซึ่งกระทบอัตราการไหลของเหลวรวมถึงความหนืดของเหลว(viscoscity) และความหนาแน่น(density) และการเสียดสีของเป็นของเหลวกับท่อ (friction) จะได้ความสัมพันธ์ดังนี้
เมื่อ
Q = อัตราการไหล(Flow rate) มีหน่วยเป็นลิตร/วินาที
V = ความเร็วเฉลี่ยของการไหล มีหน่วยเป็นเมตร/วินาที
A = พื้นที่หน้าตัดของท่อ(cross-sectional area of the pipe ) มีหน่วยเป็นตารางเมตร
โดย Q แปรผันตาม V และ Q แปรผันตาม A กล่าวคืออัตราการไหลจะมีมากหรือน้อยต้องขึ้นกับความเร็วของของไหล และพื้นที่หน้าตัดของท่อ